ตัวแทนกลุ่ม Present งาน
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558
ความเครียด
ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์
หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ
คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ
หรือเสียใจ
ความเครียดที่มีไม่มากนัก จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนเราเกิดแรงมุมานะที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ คนที่มีความรับผิดชอบสูงจึงมึกหนีความเครียดไปไม่พ้น
ความเครียดที่มีไม่มากนัก จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนเราเกิดแรงมุมานะที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ คนที่มีความรับผิดชอบสูงจึงมึกหนีความเครียดไปไม่พ้น
โดยปกติความเครียดจะเกิดเพราะสาเหตุ 5 ประการ คือ
1.เกิดจากความกดดัน
ทุกวันนี้คนเราถูกกดดันจากสภาพแวดล้อม และบุคคลรอบ ๆ
ข้าง เช่น เด็กถูกกดดันจากพ่อแม่
ให้เรียนหนังสือมาก
ๆ ลูกน้องถูกกดดันจากหัวหน้าให้ทำงานตามสังคมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในสังคมเมือง
ถูกกดดันด้วยเวลา
จะทำอะไรก็ต้องรีบเร่ง แข่งขันกับคนอื่นไปเสียหมด หลาย ๆ คนต้องทำตนเอง
ให้ได้มาตรฐานตามที่สังคมกำหนด
โดยไม่เต็มใจ จึงทำให้เกิดความเครียด
2.เกิดจากความวิตกกังวล
คนที่ชอบคิดมาก กังวลกับอดีต วิตกกังวลอนาคต
ย่อมไม่มีความสุขในชีวิต คนเหล่านี้จะนอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด รู้สึกผิด
ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เป็นต้น
3. เกิดจากความคับข้องใจ
โดยปกติคนเรามักจะมีเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงาน
แต่เมื่อถูกขัดขวางจะเกิดอาการเครียดได้ง่าย เช่น
รถติดทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางเสียที
หรือไม่มีเงินทำให้ไม่สามารถซื้อของที่ตนเองต้องการได้ นอกจากนั้น ความผิดหวัง
ความสูญเสีย ก็ทำให้เครียดได้เช่นกัน
4. เกิดจากการขัดแย้ง
มีบ่อยครั้งที่เรามีการขัดแย้งในใจ
เมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจให้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว บางคนอยากได้เงินมากแต่ไม่ชอบทำงานมาก
การที่ต้องทำอะไรด้วยความจำใจก็เป็นเหตุให้เกิดความเครียดได้
5.เกิดจากความผิดปกติทางด้านร่างกายของตนเอง
เช่นความพิการ ความผิดปกติของอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
และโรคประจำตัวที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
จึงทำให้เกิดความเครียดขึ้นในตลอดเวลา
การเผชิญกับความเครียด
คนเรามีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้อยู่แล้วทุกคน
แต่ในระหว่างที่เราต้อง เผชิญกับความเครียด เราควรมีแนวทางที่เหมาะสมดังนี้คือ
1. สำรวจตนเองว่าเครียดหรือไม่
2. ยอมรับความจริงและคิดในแง่บวก
3. การวางแผนแก้ไขปัญหา
4. ผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม
1. สำรวจตนเองว่าเครียดหรือไม่
2. ยอมรับความจริงและคิดในแง่บวก
3. การวางแผนแก้ไขปัญหา
4. ผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม
การสำรวจความเครียดของตนเอง
ตามปกติแล้วเมื่อเกิดความเครียดภายในจิตใจมักส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
อย่างชัดเจน เช่น
1. ทางกาย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
หายใจไม่อิ่ม
2. ทางจิตใจ หงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย
โมโหง่าย ซึมเศร้า
3. ทางสังคม บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด
หรือไม่พูดจากับใคร
แต่ในบางคนไม่สามรถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของอาการได้ชัดเจน
และไม่ทราบว่าตนเองมีความเครียดหรือไม่
อาจให้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง สำรวจความเครียดของตนเองก็ได้
การยอมรับความจริงและคิดในเชิงบวก
เมื่อมีปัญหา อย่าเพิ่มความกดดันให้ตนเองโดยการมองโลกในแง่ร้าย ให้พยายามคิดในเชิงบวกและมองโลกในหลาย ๆ แง่มุม เช่น
- มองว่างานหนัก งานยาก เป็นการท้าทายความสามารถ เป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับตัวเรา
- การที่คนอื่นตำหนิเราเป็นการช่วยให้เราได้เห็นตนเองในส่วนที่ควรปรับปรุง และสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นไปอีก
- ยอมรับว่าทุกคนมีโอกาสประสบกับปัญหาและมีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น และเราควรแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้
เมื่อมีปัญหา อย่าเพิ่มความกดดันให้ตนเองโดยการมองโลกในแง่ร้าย ให้พยายามคิดในเชิงบวกและมองโลกในหลาย ๆ แง่มุม เช่น
- มองว่างานหนัก งานยาก เป็นการท้าทายความสามารถ เป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับตัวเรา
- การที่คนอื่นตำหนิเราเป็นการช่วยให้เราได้เห็นตนเองในส่วนที่ควรปรับปรุง และสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นไปอีก
- ยอมรับว่าทุกคนมีโอกาสประสบกับปัญหาและมีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น และเราควรแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นได้
การวางแผนแก้ไขปัญหา
เมื่อทราบว่าเรามีความเครียดจนทำให้ชีวิตไม่มีความสุข หนทางที่เหมาะสมคือ พยายามค้น หาสาเหตุของความเครียดแล้วแก้ไขให้ตรงจุด ความตึงเครียดจะผ่อนคลายลงไปเอง ซึ่งการค้นหาสาเหตุของความเครียดอาจใช้วิธีการสำรวจตนเอง นึกทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ และวิเคราะห์สถานการณ์ หรือความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในบางโอกาสอาจพูดคุยกับผู้ใกล้ชิดเพื่อปรึกษาและช่วย
ค้น หาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาความเครียดนั้น โดยอาจมองหาวิธีการแก้ไขปัญหาหลายๆวิธี และพิจารณาวิธีที่ดีที่สุดแล้ว จึงลงมือแก้ไขปัญหา
การผ่อนคลายความเครียด
เมื่อทราบว่ามีความเครียด และรู้สึกว่าถูกรบกวนจนทำให้ไม่มีความสุข ควรหาวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสม เพื่อมิให้ความเครียดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งการผ่อนคลายความเครียดนั้นมี 2 ระดับ ดังนี้คือ
ระดับที่ 1 การคลายเครียดในภาวะปกติ
ระดับที่ 2 การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูง
การคลายเครียดในภาวะปกติ
เมื่อทราบว่าเรามีความเครียดจนทำให้ชีวิตไม่มีความสุข หนทางที่เหมาะสมคือ พยายามค้น หาสาเหตุของความเครียดแล้วแก้ไขให้ตรงจุด ความตึงเครียดจะผ่อนคลายลงไปเอง ซึ่งการค้นหาสาเหตุของความเครียดอาจใช้วิธีการสำรวจตนเอง นึกทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ และวิเคราะห์สถานการณ์ หรือความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในบางโอกาสอาจพูดคุยกับผู้ใกล้ชิดเพื่อปรึกษาและช่วย
ค้น หาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาความเครียดนั้น โดยอาจมองหาวิธีการแก้ไขปัญหาหลายๆวิธี และพิจารณาวิธีที่ดีที่สุดแล้ว จึงลงมือแก้ไขปัญหา
การผ่อนคลายความเครียด
เมื่อทราบว่ามีความเครียด และรู้สึกว่าถูกรบกวนจนทำให้ไม่มีความสุข ควรหาวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสม เพื่อมิให้ความเครียดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ซึ่งการผ่อนคลายความเครียดนั้นมี 2 ระดับ ดังนี้คือ
ระดับที่ 1 การคลายเครียดในภาวะปกติ
ระดับที่ 2 การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูง
การคลายเครียดในภาวะปกติ
เป็นวิธีการคลายเครียดที่คนทั่วไปนิยมปฏิบัติ
โดยมักเลือกปฏิบัติในวิธีที่เคยชิน ถนัดหรือชอบ และสนใจ
ทั้งนี้เพียงเพื่อให้ความเครียดลดลง รู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น
1. หยุดพักการทำงาน หรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นชั่วคราว ลุกเดินไปดื่มน้ำ เขาห้องน้ำ ยืนยืดเส้นยืดสาย สะบัดแขนขา สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
2. ทำงานอดิเรกที่สนใจหรือถนัดและชื่นชอบ จะทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกหรือมีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง ทำให้ไม่หมกมุ่นกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียดได้ งานอดิเรกมีหลาย
1. หยุดพักการทำงาน หรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นชั่วคราว ลุกเดินไปดื่มน้ำ เขาห้องน้ำ ยืนยืดเส้นยืดสาย สะบัดแขนขา สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
2. ทำงานอดิเรกที่สนใจหรือถนัดและชื่นชอบ จะทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกหรือมีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง ทำให้ไม่หมกมุ่นกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียดได้ งานอดิเรกมีหลาย
ประเภท เช่น
- เล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ ฟังเพลง
- ทำงานศิลปะ งานประดิษฐ์
- ปลูกต้นไม้ ขุดดิน ทำสวน
- ตกแต่งบ้าน ตัดเย็บเสื้อผ้า
- เขียนหนังสือ เขียนบันทึกต่างๆ อ่านหนังสือ
- ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฟังวิทยุ
3. เล่นกีฬาหรือบริหารร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
เตะตะกร้อ เล่นเทนนิส แบดมินตัน เตะบอล โดยเลือกเล่นกีฬาที่ชอบหรือถนัด
4. พบปะสังสรรค์กับเพื่อนที่ไว้วางใจ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มพูดคุยเรื่องที่สนุกสนาน อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่อารมณ์ดี สร้างอารมณ์ขันให้กับตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
5. พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้กลางคืนมีการนอนหลับที่ดีนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ ให้เข้านอนเป็นเวลา และหากไม่ง่วงนอน ก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ เป็นต้น
6. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือที่บ้านให้เหมาะสม เช่น จัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดบานและที่ทำงานให้ดูดีขึ้น ซึ่งหากสิ่งแวดล้อมดูสะอาด เรียบร้อย และสวยงามน่าอยู่แล้วย่อมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และช่วยลดความเครียดลงได้
7. เปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราว ในบางครั้งที่เราอาจคร่ำเคร่ง หรือเคร่งเครียดกับการทำงานหรือกิจกรรมบางอย่างมาก ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก จำเจเกินไป จนทำให้ไม่มีความสุข ดังนั้น การเปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราวด้วยการชักชวนคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงออกไป
ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ หลีกหนีบรรยากาศที่จำเจไปชั่วคราว หยุดงานชั่วขณะ หยุดพักผ่อนบ้าง เดินทางไปสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และเพลิดเพลินสักระยะหนึ่ง จะทำให้ความตึงเครียดลดลงและพร้อมที่จะลุยงานต่อไปได้ใหม่
สิ่งที่สำคัญที่ควรระลึกถึงคือ การหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน กินของจุกจิก หรือใช้ยาเสพติด เพราะนอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังอาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย เช่น เสียทรัพย์สินเงินทอง เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจกับคนในครอบครัว เป็นต้น
- เล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ ฟังเพลง
- ทำงานศิลปะ งานประดิษฐ์
- ปลูกต้นไม้ ขุดดิน ทำสวน
- ตกแต่งบ้าน ตัดเย็บเสื้อผ้า
- เขียนหนังสือ เขียนบันทึกต่างๆ อ่านหนังสือ
- ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฟังวิทยุ
3. เล่นกีฬาหรือบริหารร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
เตะตะกร้อ เล่นเทนนิส แบดมินตัน เตะบอล โดยเลือกเล่นกีฬาที่ชอบหรือถนัด
4. พบปะสังสรรค์กับเพื่อนที่ไว้วางใจ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มพูดคุยเรื่องที่สนุกสนาน อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่อารมณ์ดี สร้างอารมณ์ขันให้กับตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
5. พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้กลางคืนมีการนอนหลับที่ดีนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ ให้เข้านอนเป็นเวลา และหากไม่ง่วงนอน ก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ เป็นต้น
6. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือที่บ้านให้เหมาะสม เช่น จัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดบานและที่ทำงานให้ดูดีขึ้น ซึ่งหากสิ่งแวดล้อมดูสะอาด เรียบร้อย และสวยงามน่าอยู่แล้วย่อมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และช่วยลดความเครียดลงได้
7. เปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราว ในบางครั้งที่เราอาจคร่ำเคร่ง หรือเคร่งเครียดกับการทำงานหรือกิจกรรมบางอย่างมาก ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก จำเจเกินไป จนทำให้ไม่มีความสุข ดังนั้น การเปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราวด้วยการชักชวนคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงออกไป
ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ หลีกหนีบรรยากาศที่จำเจไปชั่วคราว หยุดงานชั่วขณะ หยุดพักผ่อนบ้าง เดินทางไปสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และเพลิดเพลินสักระยะหนึ่ง จะทำให้ความตึงเครียดลดลงและพร้อมที่จะลุยงานต่อไปได้ใหม่
สิ่งที่สำคัญที่ควรระลึกถึงคือ การหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน กินของจุกจิก หรือใช้ยาเสพติด เพราะนอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังอาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย เช่น เสียทรัพย์สินเงินทอง เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจกับคนในครอบครัว เป็นต้น
การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูง
เมื่อมีความเครียด
กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะหดเกร็ง และจิตใจจะวุ่นวายสับสน ดังนั้น
เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดส่วนใหญ่จึงเน้นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
และการทำจิตใจให้สงบเป็นหลัก ซึ่งวิธีที่จะนำเสนอในที่นี้ จะเป็นวิธีง่ายๆ
สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม
เนื่องจากบางคนอาจจะปฏิบัติได้ผลในบางวิธี ดังนั้น
จึงควรเลือกใช้ในวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง คือ
1. การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ
2. การฝึกการหายใจ
3. การทำสมาธิเบื้องต้น
4. การใช้เทคนิคความเงียบ
5. การใช้จินตนาการ
6. การใช้เทปเสียงคลายเครียดด้วยตัวเอง
ในการฝึกครั้งแรก ๆ ใจอาจจะยังคอยพะวงอยู่กับขั้นตอนการฝึกจนรู้สึกว่าความเครียดยังไม่ได้รับ การผ่อนคลายออกไปเท่าที่ควร แต่เมื่อฝึกหลายครั้งจนเกิดความชำนาญ จะช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี สำหรับการฝึกคลายเครียดนั้น เมื่อเริ่มฝึก ควรฝึกบ่อย ๆ วันละ 2-3 ครั้ง และควรฝึกทุกวัน ต่อเมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงลดลงเหลือเพียงวันละ 1 ถึง 2 ครั้งก็พอ และฝึกเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดเท่านั้นก็ได้
2. การฝึกการหายใจ
3. การทำสมาธิเบื้องต้น
4. การใช้เทคนิคความเงียบ
5. การใช้จินตนาการ
6. การใช้เทปเสียงคลายเครียดด้วยตัวเอง
ในการฝึกครั้งแรก ๆ ใจอาจจะยังคอยพะวงอยู่กับขั้นตอนการฝึกจนรู้สึกว่าความเครียดยังไม่ได้รับ การผ่อนคลายออกไปเท่าที่ควร แต่เมื่อฝึกหลายครั้งจนเกิดความชำนาญ จะช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี สำหรับการฝึกคลายเครียดนั้น เมื่อเริ่มฝึก ควรฝึกบ่อย ๆ วันละ 2-3 ครั้ง และควรฝึกทุกวัน ต่อเมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงลดลงเหลือเพียงวันละ 1 ถึง 2 ครั้งก็พอ และฝึกเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดเท่านั้นก็ได้
วิธีป้องกันความเครียด
การป้องกันความเครียด ใช้หลายวิธีประกอบกันการเข้าใจตนเองช่วยได้มากในการฝึกกับสิ่งที่ทำให้เครียด
1. มีสติเตือนตนเอง รู้จักตนเอง
พิจารณาตนเอง ว่ามีความคิด ความรู้สึกอย่างไร
รู้ตัวเมื่อมีความกังวล ความเครียด ความกลัว
2. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เสียงไม่ดัง
ไม่ร้อนมากเกินไป สี แสง บรรยากาศ การมีธรรมชาติ ต้นไม้ ภาพวาด ภาพผนังห้อง
3. การฝึกสู้ปัญหาให้เกิดความเคยชินไม่หลบเลี่ยงปัญหา
พัฒนาตนเองให้ปรับตัวได้มากขึ้น
4. จัดงานให้พอเหมาะ หลีกเลี่ยงงานที่เครียดเกินไป งานที่ไม่ชอบไม่ถนัด งานที่มีการคุกคามข่มขู่ มีการแบ่งงานกันอย่างยุติธรรม แบ่งเวลาให้มีงาน พักผ่อน ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนเป็นเวลา
5. มีกิจกรรมผ่อนคลายสลับ เช่น พักสายตา มองไปไกลๆ ขยับร่างกาย กายบริหาร ฟังเพลง ร้องเพลง
6 สร้างความสามัคคีในทีมงาน มีการประสานงานกันดี
ช่วยเหลือกัน
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558
ภาวะความเครียด
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความเครียดให้มากขึ้น
- เพื่อให้รู้จักกับวิธีจัดการกับภาวะความเคียด
- เพื่อให้จัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิธิภาพ
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- ผู้ประสบกับปัญหาจะสามารถจัดการกับความเครียดได้
- ผู้ประสบกับปัญหาจะสามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้ประสบกับปัญหาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)